ยินดีต้อนรับเข้าสู่บล็อก

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

                คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8

1.ให้ผู้เรียนตอบคำถามต่อไปนี้ เขียนตามความเข้าใจของผู้เรียน

1.1 การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ตอบ.1. เพื่อให้ผู้ที่ดูผลงานของเราเข้าใจถึงสาระที่สำคัญของการนำเสนอ
        2.เพื่อให้ผู้ที่ดูผลงานของเราเกิดความประทับใจ สามารถเชื่อถือผลงานที่เรานำเสนอได้
                                                                                                                                         
1.2 หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
ตอบ.1.การดึงดูดความสนใจ
        2.ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
        3.ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

1.3 การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
ตอบ.การพากย์ (dubbing) เป็นกระบวนการหลังการผลิตว่าด้วยการบันทึกและแทนเสียงลงในภาพยนตร์หรือวัสดุโทรทัศน์ภายหลังจากที่มีการสร้างสรรค์ส่วนดั้งเดิมขึ้นแล้ว ปรกติมักหมายถึงการแทนเสียงของนักแสดงที่ปรากฏอยู่ในวัสดุนั้นแล้วด้วยเสียงของนักแสดงคนอื่นซึ่งอาจพูดคนละภาษากัน กระบวนการทำนองเดียวกันนี้บางครั้งยังใช้ในละครเวทีเมื่อปรากฏว่านักแสดงร้องเพลงได้ไม่เป็นที่น่าพอใจหรือพูดคนละภาษากับผู้ชม ตลอดจนการบันทึกเสียงใหม่เพื่อปรับปรุงคุณภาพเสียงเดิมหรือเปลี่ยนแปลงบทสนทนาเป็นต้น
การบรรยาย (Lecture)   หมายถึง   วิธีที่วิทยากรเป็นผู้พูด   บอกเล่าหรืออธิบายเนื้อหาแก่ผู้เรียน   วิทยากรเป็นผู้เตรียมการค้นคว้าในเรื่องที่จะสอนมาเป็นอย่างดี   ผู้เรียนเป็นผู้รับการถ่ายทอด   โดยการจดบันทึกหรือท่องจำ    การสอนโดยการบรรยายตามความหมายดั้งเดิม   หมายถึง   วิทยากรเป็นผู้พูดตลอด   ผู้เรียนมิได้มีส่วนร่วม   ต่อมาได้มีการประยุกต์ใช้วิธีการสอนแบบอื่นๆ เข้ามาร่วม   เพื่อให้การบรรยายน่าสนใจยิ่งขึ้น   เช่น   การถาม ตอบ   การแสดงบทบาท   การใช้สื่อการสอน   การทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากขึ้น ฯลฯ
1.4 เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ.1. โพรเจกเตอร์ (Projector) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพที่ใช้ในการนำเสนอ โดยสามารถรองรับสัญญาณภาพจากคอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นวีซีดี เครื่องเล่นดีวีดี และเครื่องกำเนิดภาพอื่น ๆ แล้วแสดงผล ขยายขนาดบนจอรับภาพช่วยให้มองเห็นได้ไกลขึ้น เหมาะสำหรับการนำเสนอข้อมูลในห้องประชุม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถมองเห็นภาพหรือข้อความได้อย่างชัดเจน
2. วิชวลไลเซอร์ (Visualizer) เป็นอุปกรณ์ฉายภาพระบบดิจิทัลประเภทหนึ่ง ซึ่งพัฒนามาจากโอเวอร์เฮดหรือเครื่องฉายข้ามศีรษะ ใช้แสดงภาพวัตถุและเอกสารสู่จอรับภาพที่มีอยู่จริงได้เลย โดยไม่ต้องดัดแปลง อุปกรณ์นี้เหมาะสำหรับใช้ในการนำเสนองานต่าง ๆ โดยเฉพาะครู-อาจารย์ที่สอนหนังสือ และใช้ได้ดีในการนำเสนอภาพนิ่งมากกว่าภาพเคลื่อนไหว แต่ภาพที่แสดงออกมานั้นก็ให้ความคมชัด มีสีสดใส และมีโหมดของการแสดงภาพให้ปรับการทำงานด้วย การควบคุมการทำงานสามารถทำได้โดยใช้รีโมต
3. กล้องถ่ายรูปดิจิทัล (Digital Camera) เป็นอุปกรณ์รับภาพที่เปลี่ยนจากฟิล์มมาเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเมื่อถ่ายรูปที่ต้องการแล้ว รูปจะถูกเก็บลงในหน่วยความจำ (memory) ที่อยู่ในกล้อง เมื่อต้องการดูรูปทำได้โดยการถ่ายข้อมูลจากหน่วยความจำลงบนเครื่องพิมพ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาพที่ได้จะมีขนาดตามที่ต้องการ สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงหรือเงาแล้วแต่ความพอใจหรือจะเพิ่มรูปแบบก็สามารถทำได้ และเมื่อจะถ่ายใหม่ ก็สามารถใช้หน่วยความจำเดิมได้เลย โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อฟิล์ม
4. กล้องถ่ายวีดิทัศน์ดิจิทัล เป็นอุปกรณ์รับภาพที่บันทึกข้อมูล ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เก็บไว้ในหน่วยความจำแบบแฟลชภายในกล้อง สามารถย่อหรือขยาย ปรับแสงเงาของภาพได้ และในปัจจุบันสามารถคัดลอกข้อมูลลงในแผ่นดีวีดีได้เลย โดยไม่ต้องโอนลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
5. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊ก เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สร้างงานนำเสนอ เป็นสื่อกลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น โพรเจกเตอร์ เพื่อนำเสนองาน และใช้นำเสนองานผ่านจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
6. เครื่องเล่นเสียง หรือเครื่องเล่นเอ็มพีสาม (MP3) เป็นอุปกรณ์ซึ่งบรรจุข้อมูลเสียงที่ใช้เล่นในคอมพิวเตอร์และสามารถถ่ายโอนข้อมูลเข้าไปในคอมพิวเตอร์ได้ โดยข้อมูลเสียงนั้นใช้เทคโนโลยีบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงมากกว่าข้อมูลเสียงปกติถึง 12 เท่า แม้ขนาดข้อมูลจะเล็กลง แต่คุณภาพเสียงไม่ได้เสียไป อย่างไรก็ตาม หากเรานำข้อมูลเสียงจากเครื่องเล่น MP3 ไปเล่นในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า จะได้เสียงในลักษณะกระตุกหรือใช้การไม่ได้เลย
7. โทรศัพท์เคลื่อนที่บางรุ่น เป็นอุปกรณ์ตัวกลางที่ผู้ใช้สามารถนำเสนองานที่สร้างด้วยซอฟต์แวร์ไมโครซอฟต์เพาเวอร์พอยต์ผ่านเครื่องโพรเจกเตอร์ได้สะดวก ง่ายต่อการติดตั้ง เพียงเชื่อมต่อโพรเจกเตอร์เข้ากับโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านสายเคเบิล แล้วเชื่อมต่อโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยบลูทูธนอกจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่ช่วยในการนำเสนอผลงานแล้ว ยังมีส่วนประกอบที่สำคัญในการนำเสนองานคือ คำบรรยาย หรือบทพากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง 

1.5 รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
ตอบ. 1.การนำเสนอแบบ Slide Presentation
       โดยใช้โปรแกรม Power Point     ProShow  Gold   Flip Album    เป็นต้น
        2.รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   CAI

โดยใช้โปรแกรม Authorware     การจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์Moodel  การใช้เว็บบล็อกเพื่อการศึกษา      การนำเสนอแบบ Wed Page เป็นต้น
                คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7

1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
ตอบ.แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ ระบบเครือข่ายรวมศูนย์กลาง (Centralized Networks) ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer และระบบเครือข่าย Client/Server
1) ระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์ (Centralized Network) เป็นการวางทรัพยากรสำคัญ เช่น File server, Database server เป็นต้น เอาไว้ในบริเวณเดียวกันหรือที่ศูนย์กลาง มีเครื่องเทอร์มินัลที่เชื่อมต่อโดยตรงด้วยสายเคเบิล การประมวลผลอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลักซึ่งตั้งอยู่ที่ศูนย์กลาง ซึ่งการบริหารจัดการเครือข่ายแบบรวมศูนย์นี้ทำได้ง่ายกว่ารูปแบบอื่น ๆ ข้อดีประการหนึ่งคือมีความปลอดภัยสูง เพราะสามารถจัดการทรัพยากรที่สำคัญได้ในที่เดียวกัน เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางควรตั้งอยู่ในห้องปิด ล๊อกหรือมีการป้องกันภัยเป็นอย่างดี การ backup ข้อมูลสามารถทำได้สะดวกจากที่เดียว ข้อเสียคือหากศูนย์กลางมีปัญหาจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ นอกจากนี้ค่าใช้จ่ายในการวางระบบค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นศูนย์กลางหรือเครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่มีสมรรถนะค่อนข้างสูงและต้องมีระบบสำรองที่ดีเพื่อไม่ให้การใช้งานในระบบเครือข่ายหยุดชะงัก
2) ระบบเครือข่าย Peer-to-Peer คือ รูปแบบของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในความหมายที่ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนเครือข่าย คือ Peer (ท่า) ที่มีความเท่าเทียมกัน โดยที่เครื่องแต่ละเครื่องหรือเครื่องทั้งหมดในเครือข่ายสามารถที่จะเป็นทรัพยากรของระบบ และมีหน้าที่จัดเตรียมไฟล์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่เป็นที่เก็บข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ในขณะเดียวกันเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดนี้จะต้องมีขีดความสามารถในการทำงานได้ด้วยตนเอง โดยมีทรัพยากรอยู่ภายในเครื่อง เช่น ดิสต์สำหรับเก็บข้อมูล มีหน่วยความจำและหน่วยประมวลผลที่เพียงพอ เพื่อทำให้เครื่องสามารถทำงานได้อย่างอิสระ (Stand alone) ได้ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer ได้แก่ Windows Workstation ระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer มีความง่ายในการจัดตั้ง ราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ข้อเสียของระบบนี้คือ การถูกจำกัดด้วยขนาด และไม่มีการออกแบบในเรื่องการรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ ผู้ใช้แต่ละรายต้องรับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยและบริหารจัดการเครื่องของตนเอง
BitTorrent เป็นเทคโนโลยี peer-to-peer หนึ่งที่ช่วยให้สมาชิกผู้ใช้ไคลเอ็นต์สามารถแบ่งปันไฟล์ขนาดใหญ่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวกง่ายดาย ซึ่งทำให้มีผู้ใช้นิยมแบ่งปันไฟล์วิดีโอของภาพยนต์ตลอดจนไฟล์เพลงผ่านเครือข่ายของ BitTorrent เป็นจำนวนมากจนเกิดเป็นคดีละเมิดฯ ในช่วงที่ผ่านมา
3) ระบบเครือข่ายแบบ Client/Server เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า และมีการใช้กันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer เนื่องจากสนับสนุนให้มีลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และยังสามารถเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม(Platform) ระบบนี้สร้างขึ้นโดยมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่เป็นศูนย์กลางจำนวน 1 เครื่องหรือมากกว่า เช่นเดียวกับระบบเครือข่ายแบบรวมศูนย์กลางคือมีการบริหารจัดการจากส่วนกลาง แต่ต่างกันตรงที่ระบบเครือข่าย Client/Server คือจะใช้เครื่องที่เป็นศูนย์กลางที่มีสมรรถนะน้อยกว่าแบบรวมศูนย์ เนื่องจากเครื่องลูกข่ายสามารถประมวลผลและมีพื้นที่จัดเก็บ
บส352 เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล อ.แววตา เตชาทวีวรรณ
ภาคการเรียนที่ 1/2549
4
ข้อมูลเป็นของตนเอง ดังนั้นจึงลดภาระเครื่องที่เป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ระบบเครือข่าย Client/Server ยังสนับสนุนระบบ Multiprocessor จึงสามารถขยายขนาด หรือเพิ่มจำนวนผู้ใช้ได้ตามต้องการ รวมทั้งการเพิ่มเครื่องเซิร์ฟเวอร์เข้าไปในระบบเครือข่ายซึ่งช่วยกระจายภาระของระบบได้ และสามารถรองรับข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นได้ การบริหารเครือข่ายค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อนกว่าแบบรวมศูนย์ เครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้จะต้องมีความสามารถในการใช้ระบบปฏิบัติการเครือข่าย เช่น Windows Server, Novell NetWare เป็นต้น ซึ่งระบบปฏิบัติการเหล่านี้มีความซับซ้อนมากกว่าระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะโดยทั่วไป นอกจากนี้การรักษาความปลอดภัยทำได้ยากกว่า ข้อดีของการจัดวางเครือข่ายแบบClient/Server คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดวางต่ำกว่าแบบรวมศูนย์ เพราะว่าไม่จำเป็นต้องใช้เซิร์ฟเวอร์ที่มีสมรรถนะสูงมากนัก นอกจากนี้ยังสนับสนุนการทำงานแบบ Multi-user สามารถเพิ่มผู้ใช้ได้จำนวนมาก แต่ถ้าเปรียบเทียบกับระบบเครือข่าย Peer-to-Peer ระบบ Client/Server นั้นราคาแพงกว่า และมีความยุ่งยากในการติดตั้งมากกว่า รวมทั้งต้องการบุคลากรบริหารจัดการระบบโดยเฉพาะ
2.อินทราเน็ต(Intranet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ. คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบภายในองค์กร ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ในการใช้งานอินทราเน็ตจะต้องใช้โพรโทคอล IP เหมือนกับอินเทอร์เน็ต สามารถมีเว็บไซต์และใช้เว็บเบราว์เซอร์ได้เช่นกัน รวมถึงอีเมล ถ้าเราเชื่อมต่ออินทราเน็ตของเรากับอินเทอร์เน็ต เราก็สามารถใช้ได้ทั้ง อินเทอร์เน็ต และ อินทราเน็ต ไปพร้อม ๆ กัน แต่ในการใช้งานนั้นจะแตกต่างกันด้านความเร็ว ในการโหลดไฟล์ใหญ่ ๆ จากเว็บไซต์ในอินทราเน็ต จะรวดเร็วกว่าการโหลดจากอินเทอร์เน็ตมาก ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจากอินทราเน็ต สำหรับองค์กรหนึ่ง คือ สามารถใช้ความสามารถต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเวลาที่มีการเชื่อมต่ออินทราเน็ตเข้ากับอินเทอร์เน็ต มักมีการติดตั้งไฟร์วอลล์สำหรับควบคุมการผ่านเข้าออกของข้อมูล ผู้ดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กร สามารถควบคุมและจำกัดการใช้งานอินเทอร์เน็ตบางประเภท เช่น ไม่ให้เข้าไปยังเว็บไซต์ลามก หรือตรวจสอบว่าผู้ใช้รายไหนพยายามเข้าไปเว็บดังกล่าว เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ ไฟล์วอลยังป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกจากอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในองค์กร นอกเหนือไปจากเซิร์ฟเวอร์สำหรับให้บริการซึ่งผู้บริหารเครือข่ายได้กำหนดไว้


3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ตอบ.การค้นหาแบบ Metasearch Engines   จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language  (ภาษาพูด) ดังนั้น หากจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ Google พอสังเขป
ตอบ.  1. ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/
               2. เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ เว็บ
               3. พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box
               4. กดที่ปุ่ม ค้นหา
               5. ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของ
ลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบ
 
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
ตอบ. Digital library หรือ ห้องสมุดดิจิตอล หมายถึง ห้องสมุดที่ต้องการเทคโนโลยีเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงแหล่งสารสนเทศที่อยู่    หลายๆ แหล่งและการเชื่อมโยงนั้นต้องไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้และสามารถเข้าถึง ทรัพยากรสารสนเทศได้อย่างกว้างขวางเป็นสากล คอลเลคชั่นที่เก็บไม่จำกัดเฉพาะเอกสาร แต่ยังครอบคลุมถึงวัสดุดิจิตอลอื่น ๆ ที่สร้างขึ้น ซึ่งไม่อยู่ในรูปแบบของสิ่งพิมพ์ องค์ประกอบของห้องสมุดดิจิตตอล ได้แก่ ส่วนเชื่อมต่อ ผู้ใช้ (User interface) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนสำหรับผู้ใช้และส่วนสำหรับผู้ควบคุมโดยผู้ใช้สามารถใช้เว็บบราวเซอร์ในการติดต่อกับส่วนบริการผู้ใช้ได้
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทการศึกษา

ตอบ. ThaiWBI มุ่งพัฒนาระบบการเรียน การสอน การฝึกอบรม ในรูปแบบ E-Learning โดยใช้ Web based instruction เป็นเครื่องมือ (Tool) หรือเรียกกันว่า WBI ซึ่งเป็นการจำลองสถานการณ์การเรียนการสอนในห้องเรียน เป็นลักษณะ Virtual Classroom กลุ่มเป้าหมายของ ThaiWBI คือ นิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาในสถาบัน เพื่อการเรียนการสอน ผู้ที่เริ่มต้นศึกษา Internet และ ผู้ที่ต้องการหาความรู้เพิ่มเติมทั่วไป     ก่อนที่จะศึกษาบทเรียนใน Web site แห่งนี้    http://www.thaiwbi.com/
                คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6

1.อินเตอร์เน็ต(Internet)หมายความว่าอย่างไร
ตอบ.อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้  หรือหมายถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์ในสำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แป้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ  กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้นนำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์ของคุณ


2.จงอธิบายความสำคัญของอินเตอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
ตอบ.มีความสำคัญดังนี้
1.สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
2.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเหมือนห้องสมุดขนาดใหญ่
3.นักศึกษาสามารถใช้อินเตอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ทั้งที่เป็นข้อมูลด้านข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ

3.จงบอกประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ตอบ.1.ใช้ค้นหาข้อมูลข่าวสารที่อยากรู้ รวมทั้งเหตุบ้านการเมืองต่างๆโดยค้นหาจากหนังสือพิมพ์
หรือนิตยสารต่างๆที่ออนไลน์อยู่บนเว็บ
2.ใช้ในการทำธุรกิจค้าขายผ่านทางอินเตอร์เน็ท หรือที่เรียกกันว่า e-commerce
ทั้งในด้านการซื้อ การขาย การตลาด การโฆษณา เพื่อเป็นการลดต้นทุน
3.ใช้คุยกับเพื่อนผ่านทางmsn,chat หรือส่ง e-mailหากัน และผ่านบริการอื่นๆอีกมากมาย
4.ใช้แลกเปลี่ยนตวามคิดเห็นกันผ่านblog
5.ใช้ในความบันเทิงต่างๆ เช่นฟังเพลง เล่นเกมส์ ดูทีวีออนไลน์ อ่านนิตยสาร เป็นต้น
6.ใช้หาข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาการเรียนออนไลน์ หรือe-learning รวมทั้งลงทะเบียนเรียนด้วย
7.ใช้ค้นหาและดาวน์โหลดโปรแกรมซอฟต์แวร์ต่างๆ เพื่อปรับปรุงคอมพิวเตอร์ของเราให้ทันสมัยขึ้น
8.ใช้หางานและสมัครงานผานอินเตอร์เน็ต
9.ใช้ส่งงานและเขียนจดหมาย หรือe-mail
10.ใช้ในงานธุระกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม คือ บริการจองห้องพักผ่านทางอินเตอร์เน็ต
ธุระกิจสายการบิบคือการจองตั๋เครื่องบิน เป็นต้น

4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modem หมายความว่าอย่างไร
ตอบ.สายโทรศัพท์ที่ต่อกับอุปกรณ์ ADSL จะต้องเป็นสายตรงจากองค์การโทรศัพท์ โดยไม่มีการต่อพ่วงอุปกรณ์ใด ๆ การต่อพ่วงสามารถทำได้เมื่อต่อผ่านอุปกรณ์ POTs splitter เท่านั้น การต่อพ่วงโดยไม่ใช้ POTs Splitter จะทำให้สัญญาณ ADSL หลุด เมื่อมีการใช้สายโทรศัพท์ หรือสัญญาณ ADSL จะถูกรบกวนจนไม่สามารถใช้งานได้
POTS splitter คืออุปกรณ์ทีช่วยให้เราใช้โทรศัพท์ หรือแฟกส์ได้ พร้อม ๆ กับการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วย ADSL POTs Splitter ทำหน้าที่ในการแยกสัญญาณที่เป็น Voice ออกจากสัญญาณ ADSL เพื่อไม่ให้สัญญาณรบกวนซึ่งกันและกันอุปกรณ์ POTs splitter มี 3 ช่อง คือ LINE, MODEM และ PHONE ในการเชื่อมต่อให้นำสายโทรศัพท์ต่อเช้าที่ช่อง LINE และนำสายโทรศัพท์ที่ต่อไปยังโมเด็มต่อเข้าที่ช่อง Modem และ ต่อสายโทรศัพท์จากช่อง PHONE เข้าที่เครื่องรับโทรศัพท์อุปกรณ์ POTs splitter โดยปกติมาพร้อมกับอุปกรณ์เราเตอร์ หรือโมเด็ม


5.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator


6. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail

ตอบ.. 1.ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
2. ง่ายต่อการบริหารจัดการขององค์การ
3. สะดวกในการนำข้อมูลมาใช้
4. ประชาสัมพันธ์องค์การให้หน่วยงานอื่นได้ทราบ
5. ประหยัดค่าใช้จ่ายขององค์การ
              คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 5

1.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายความว่าอย่างไร
ตอบ.
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

2.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ.  ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หนึ่งเครือข่ายจะมีการทำงานรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่า กลุ่มงาน (workgroup)  แต่เมื่อเชื่อมโยงหลายๆ กลุ่มงานเข้าด้วยกัน   ก็จะเป็นเครือข่ายขององค์กร และถ้าเชื่อมโยงระหว่างองค์กรผ่านเครือข่ายแวน ก็จะได้เครือข่ายขนาดใหญ่ขึ้น  การประยุกต์ใช้งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างกว้างขวางและสามารถใช้ประโยชน์ได้มากมาย ทั้งนี้เพราะระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้เกิดการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน และสื่อสารข้อมูลระหว่างกันได้ 

3.ระบบเครือข่ายในบริเวณเฉพาะที่หมายความว่าอย่างไร
ตอบ.เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ที่ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก มักพบเห็นกัน ในองค์กรเดียวกัน 
โดยส่วนใหญ่ลักษณะของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นวง LAN จะอยู่ในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เช่น อยู่ภาย 
อาคารเดียวกัน  ภายในตึกเดียวกัน เป็นต้น

4.ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตหมายความว่าอย่างไร
ตอบ. คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก 




5.ระบบเครือข่ายร่วมปฏิบัติการหมายความว่าอย่างไร
ตอบ.  ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network operating System หรือ NOS) จะเป็นระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาสำหรับจัดการงานด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ และช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่ต่ออยู่กับเครือข่ายสามารถใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ หรือเครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ ระบบปฏิบัติการเครือข่ายมีคุณสมบัติต่างๆ คล้ายระบบปฏิบัติการเอ็มเอสดอส แต่เพิ่มการจัดการเกี่ยวกับเครือข่ายและการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการป้องกันการสูญหายของข้อมูลด้วยระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นิยมใช้ปัจจุบัน จะใช้หลักการประมวลผลแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client / Server) โดยส่วนประกอบสำหรับการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลและการจัดการโปรแกรมจะทำงานอยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่ส่วนประกอบอื่น ๆ ของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจะอยู่บนเครื่องไคลเอนต์ เช่น การติดต่อกับผู้ใช้ การประมวลผล เป็นต้น การจัดการให้ผู้ใช้เห็นว่างานและอุปกรณ์ทั้งหลายที่ใช้นั้นเสมือนอยู่บนเครื่องไคลเอนต์เอง ถือว่าเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของระบบปฏิบัติการเครือข่าย
6.ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ. ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ
. 2.เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network หรือ MAN) เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network หรือ WAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม
7.รูปแบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง
ตอบ. มี3รูปแบบดังนี้
1. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (bus topology)โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส จะประกอบด้วย สายส่งข้อมูลหลัก ที่ใช้ส่งข้อมูลภายในเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง จะเชื่อมต่อเข้ากับสายข้อมูลผ่านจุดเชื่อมต่อ เมื่อมีการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องพร้อมกัน จะมีสัญญาณข้อมูลส่งไปบนสายเคเบิ้ล และมีการแบ่งเวลาการใช้สายเคเบิ้ลแต่ละเครื่อง ข้อดีของการเชื่อมต่อแบบบัส คือ ใช้สื่อนำข้อมูลน้อย ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่าย และถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบโดยรวม แต่มีข้อเสียคือ การตรวจจุดที่มีปัญหา กระทำได้ค่อนข้างยาก และถ้ามีจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายมากเกินไป จะมีการส่งข้อมูลชนกันมากจนเป็นปัญหา
 2. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (ring topology) โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน มีการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยที่แต่ละการเชื่อมต่อจะมีลักษณะเป็นวงกลม การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายนี้ก็จะเป็นวงกลมด้วยเช่นกัน ทิศทางการส่งข้อมูลจะเป็นทิศทางเดียวกันเสมอ จากเครื่องหนึ่งจนถึงปลายทาง ในกรณีที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งขัดข้อง การส่งข้อมูลภายในเครือข่ายชนิดนี้จะไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ข้อดีของโครงสร้าง เครือข่ายแบบวงแหวนคือ ใช้สายเคเบิ้ลน้อย และถ้าตัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เสียออกจากระบบ ก็จะไม่ส่งผลต่อการทำงานของระบบเครือข่ายนี้ และจะไม่มีการชนกันของข้อมูลที่แต่ละเครื่องส่ง
3. โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (star topology)โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว ภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์จะต้องมีจุกศูนย์กลางในการควบคุมการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ หรือ ฮับ (hub) การสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ จะสื่อสารผ่านฮับก่อนที่จะส่งข้อมูลไปสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แบบดาวมีข้อดี คือ ถ้าต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่ก็สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบต่อเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในระบบ ส่วนข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายในการใช้สายเคเบิ้ลจะค่อนข้างสูง และเมื่อฮับไม่ทำงาน การสื่อสารของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบก็จะหยุดตามไปด้วย    
                คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 4

1.ซอฟต์แวร์ คืออะไร และทำหน้าที่อย่างไร
ตอบ.  ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์จึงเป็นซอฟต์แวร์ เพราะเป็นลำดับขั้นตอนการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งทำงานแตกต่างกันได้มากมายด้วยซอฟต์แวร์ที่แตกต่างกัน ซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้  การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้มากมาย เพราะว่ามีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาให้เราสั่งงานคอมพิวเตอร์ ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว คอมพิวเตอร์ช่วยในเรื่องกิจการงานธนาคารที่มีข้อมูลต่าง ๆ มากมาย คอมพิวเตอร์ช่วยงานพิมพ์เอกสารให้สวยงาม เป็นต้น การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการให้ประโยชน์ได้มากมายมหาศาลจะอยู่ที่ซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น และมีความสำคัญมาก และเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ

2.ซอฟต์แวร์มีกี่ประเภทอะไรบ้าง
ตอบ.ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ซอฟต์แวร์ระบบ 2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
 1. ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

3.ซอฟต์แวร์ระบบคืออะไร
ตอบ.ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software หรือ Operating Software : OS)
          หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์คืออะไร
ตอบ.ซอฟต์แวร์ประยุกต์
          ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร

5.ซอฟต์แวร์เฉพาะงานคืออะไร
ตอบ.  ซอฟแวร์ประยุกต์เฉพาะงาน (application software for specific surpose) เป็นซอฟแวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับงานขององค์กรใดองค์กรหนึ่งโดยเฉพาะ  ออกแบบและสร้างขึ้นโดยผู้ผลิตซอฟแวร์ที่มีความชำนาญในด้านนั้นๆ หรือพัฒนาโดยฝ่ายบุคากรฝ่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรก็ได้ โดยผ่านการวิเคราะห์ ออกแบบ ลงมือ สร้าง และทดสอบโปรแกรมให้สามารถทำงานได้ถูกต้องก่อนจึงจะสามารถนำมาใช้งานได้ เช่น โปรแกรมคำนวณภาษีของประชาชน เป็นต้น

6.ซอฟต์แวร์มีความสำคัญและจำเป็นต่องานคอมพิวเตอร์อย่างไร
ตอบ.
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้  



การที่เราเห็นคอมพิวเตอร์ทำงานให้กับเราได้อย่างหลากหลาย เพราะมีซอฟต์แวร์ต่างๆ ช่วยสนับสนุนการทำงานเหล่านั้น เช่น ร้านค้าอาจใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำบัญชีที่ยุ่งยากซับซ้อน บริษัทขายตั๋วเครื่องบินใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในระบบการจองตั๋ว ธนาคารใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่มากมาย ครูและนักเรียนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการจัดพิมพ์เอกสาร ดังนั้นซอฟต์แวร์จึงหมายรวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกประเภทที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้  







คำอธิบาย: clip0031การที่คอมพิวเตอร์ดำเนินการได้อย่างไรและก่อให้เกิดประโยชน์ได้มากน้อยเพียงใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ หากขาดซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถทำงานได้ ซอฟต์แวร์จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญมาก ซอฟต์แวร์เป็นส่วนประกอบหนึ่งที่ทำให้ระบบสารสนเทศเป็นไปได้ตามที่ต้องการ  

7.ซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์เกี่ยวข้องกันอย่างไร
เนื่องจากคอมพิวเตอร์ทำงานด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัวเลข 0 และ 1 ได้ ผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ใช้ตัวเลข 0 และ 1 นี้เป็นรหัสแทนคำสั่งในการสั่งงานคอมพิวเตอร์ รหัสแทนข้อมูลและคำสั่งโดยใช้ระบบเลขฐานสองนี้ คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ เราเรียกเลขฐานสองที่ประกอบกันเป็นชุดคำสั่งและใช้สั่งงานคอมพิวเตอร์ว่าภาษาเครื่อง
การใช้ภาษาเครื่องนี้ถึงแม้คอมพิวเตอร์จะเข้าใจได้ทันที แต่มนุษย์ผู้ใช้จะมีข้อยุ่งยากมาก เพราะเข้าใจและจดจำได้ยาก จึงมีผู้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์ในรูปแบบที่เป็นตัวอักษร เป็นประโยคข้อความ ภาษาในลักษณะดังกล่าวนี้เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูง ภาษาระดับสูงมีอยู่มากมาย บางภาษามีความเหมาะสมกับการใช้สั่งงานการคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ บางภาษามีความเหมาะสมไว้ใช้สั่งงานทางด้านการจัดการข้อมูล
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์จะแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง ดังนั้นจึงมีผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับแปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง โปรแกรมที่ใช้แปลภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเรียกว่า คอมไพเลอร์ (compiler) หรืออินเทอร์พรีเตอร์ (interpreter)คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมที่เขียนเป็นภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่องก่อน แล้วจึงให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามภาษาเครื่องนั้น
ส่วนอินเทอร์พรีเตอร์จะทำการแปลทีละคำสั่ง แล้วให้คอมพิวเตอร์ทำตามคำสั่งนั้น เมื่อทำเสร็จแล้วจึงมาทำการแปลคำสั่งลำดับต่อไป ข้อแตกต่างระหว่างคอมไพเลอร์กับอินเทอร์พรีเตอร์จึงอยู่ที่การแปลทั้งโปรแกรมหรือแปลทีละคำสั่ง ตัวแปลภาษาที่รู้จักกันดี เช่น ตัวแปลภาษาเบสิก ตัวแปลภาษาโคบอลซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว คอมพิวเตอร์ต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรม

8.ระบบปฏิบัติการคืออะไร ทำหน้าอะไร
ตอบ.ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน

ระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น