คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 2
1.คำว่า"ระบบ"
และวิธีการเชิงระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ.
ระบบ
หมายถึง
การทำงานขององค์ประกอบย่อยๆอย่างอิสระแต่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันจนกลายเป็นโครงสร้างที่สมบูรณ์ของแต่ละงาน
สามารถตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขได้ทุกขั้นตอนระบบเป็นหัวใจสำคัญของงานหรือการดำเนินงานทุกประเภท
วิธีการเชิงระบบ
หมายถึง กระบวนการหรือการทำงานอย่างมีแบบแผนชัดเจนในการนำเสนอเนื้อหาความรู้ด้านต่างๆ
ซึ่งอาจเป็นวิธีการหรือผลผลิตมาประยุกต์ใช้ เพื่อการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
2.องค์ประกอบสำคัญของระบบได้แก่อะไร
ตอบ.มี3ประการ 1.ปัจจัยนำเข้า 2.กระบวนการ 3.ผลลัพธ์
3.ระบบสารสนเทศ
หมายถึงอะไร
ตอบ. หมายถึง
การประมวลผลข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นกระบวนการเพื่อให้ข้อมูลในรูปแบบของข่าวสารที่เป็นประโยชน์สูงสุด
4.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ
ได้แก่อะไร
ตอบ.จำแนกเป็น 2
ประเภท 1.องค์ประกอบหลักของระบบสารสนเทศ 2.องค์ประกอบด้านต่างๆของระบบสาสนเทศ
5.สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
ด้านขั้นตอน และสารสนเทศทั่วไปแต่ละด้านประกอบด้วยอะไร
ตอบ.
สารสนเทศด้านจุดมุ่งหมาย
มี4ประการ ได้แก่ ข้อมูล
สารสนเทศ ความรู้ ปัญญา
ด้านขั้นตอน มี3ประการ
ได้แก่ ข้อมูลนำเข้า กระบวนการ
ผลลัพธ์
สารสนเทศทั่วไป มี5องค์ประกอบ
ดังนี้
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายสื่อสารข้อมูล ข้อมูล
สารสนเทศ
โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์
บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์
6.โดยทั่วไปการจัดระบบสารสนเทศมีขั้นตอนการจัดอย่างไร
ตอบ.โดยมีการจัดแบบเป็นขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่1 การวิเคราะห์ระบบ ขั้นที่2 การสังเคราะห์ระบบ ขั้นที่3 การสร้างแบบจำลอง
7.ระบบสารสนเทศระดับบุคคล
ระดับกลุ่ม กับระดับองค์กรแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. สารสนเทศมีบทบาทกับบุคคลในทุกระดับองค์กร
โดยแต่ละระดับจะมีลักษณะและจุดมุ่งหมายในการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนี้
1.สารสนเทศระดับบุคคล คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานให้แก่ผู้ใช้แต่ละคน
ทำให้การทำงานในหน้าที่ที่รับผิดชอบมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ซึ้งสารสนเทศที่ใช้จะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะของการทำงานและความรับผิดชอบของแต่ละบุคคล
เช่น พนักงานขายใช้สารสนเทศในการนำเสนอสินค้าให้ดูน่าสนใจ
เลขานุการใช้สาสนเทศจัดทำจดหมายเวียนส่งให้แก่ผู้ร่วมประชุมและนักเรียนใช้สาสนเทศทำรายงานที่สะอาดเรียบร้อย
2. สารสนเทศระดับกลุ่ม คือ
สารสนเทศที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของกลุ่มบุคคลทีมีจุดมุ่งหมายในการทำงานอย่างเดียวกัน
ซึ่งจะส่งเสริมการใช้ข้อมูลและอุปกรณ์เทคโนโลยีพื้นฐานร่วมกัน
สาสนเทศระดับกลุ่มจึงมีการใช้ระบบเครือข่ายมาร่วมในการทำงาน
จึงทำให้สามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และข้อมูลที่เก็บไว้ในระบบฐานข้อมูลร่วมกัน
ด้วยการสร้างแฟ้มข้อมูลที่ เครื่องเซิร์ฟเวอร์(Server)ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการเก็บข้อมูล
เช่น พนักงานขายสามารถใช้สินค้าแบบเดียวกันได้ทุกคน
ผู้ร่วมประชุมสามารถใช้เอกสารประกอบการประชุมชุดเดียวกันจากสถานที่ใดก็ได้
และนักเรียนสามารถสั่งพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์เดียวกันจากคอมพิวเตอร์เครื่องใดก็ได้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3. สารสนเทศระดับองค์กร คือ
สารสนเทศที่ส่งเสริมการทำงานในภาพรวมขององค์กรซึ่งจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์ในหลายฝ่าย
จึงมีการเชื่อมโยงสารสนเทศระดับกลุ่มหลาย ๆ กลุ่ม เข้าด้วยกัน
ทำให้เกิดประโยชน์ในการบริหารงานในระดับผู้ปฏิบัติการและผู้บริหารระดับสูง
เนื่องจากสามารถใช้ข้อมูลจากฝ่ายใดก็ได้ เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเป็นหลัก
8.ข้อมูลและความรู้
คืออะไร มีความสำคัญกับสารสนเทศอย่างไร
ตอบ.ข้อมูล (Data) หมายถึง ข่าวสาร
เอกสาร ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของหรือเหตุการณ์ในรูปแบบของตัวเลข ภาพ
ตัวอักษร และสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นคะแนนสอบวิชาภาษาไทย ราคาสินค้า
จำนวนนักเรียนในโรงเรียน
ความรู้ หมายถึง การที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งได้กล่าวอ้างถึงข้อมูล หรือข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ หรือเกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติมาพูดถึงด้วยความเชื่อถือ หรือความศรัทธา
ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการทำงานใดๆที่ได้ผลดีจำเป็นต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องครอบคลุมและตรงประเด็นประกอบกับการใช้ความรู้ในการตัดสินใจในการเลือกวัตถุดิบ
เนื้อหาสาระ บุคลากร และวิธีการปฎิบัติได้อย่างเหมาะสมโดยจำแนกแจกแจงจัดหมวดหมู่และการประมวลผลข้อมูลที่เกี่ยวข้องทุกด้านอย่างเป็นระบบ
เรียกว่า สารสนเทศ
จึงนับว่าข้อมูลและสารสนเทศมีประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบุคคลและหน่วยงาน
9.การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีขั้นตอนอย่างไร
ตอบ.
มี2ขั้นตอนใหญ่ๆดังนี้
1.ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูล 2. วิธีการเก็บข้อมูล
10.จงกล่าวถึงเครือข่ายสื่อสารข้อมูลที่มีขนาดพื้นที่และจำนวนเครื่องที่ใช้งานแตกต่างกัน
ตอบ. แลน (: Local Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง
มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ
การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN)
แวน หรือ ข่ายงานบริเวณกว้าง (: Wide area network หรือ WAN) คือ ข่ายงานที่อยู่ห่างไกลกันมาก อาจจะอยู่ระหว่างเมือง หรือระหว่างประเทศ
เช่น
การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานสาขาย่อยเข้ากับเครือข่ายของสำนักงานใหญ่ที่อยู่ห่างกันไกล
อาจจะอยู่กันคนละที่หรือคนละเมืองกัน
แต่ติดต่อกันด้วยระบบการสื่อสารทางไกลความเร็วสูง หรือโดยการใช้การส่งสัญญาณ
ผ่านดาวเทียมเพื่อเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ให้ติดต่อถึงกันได้
ข่ายงานแต่ละข่ายงานจะอยู่ห่างกันประมาณ 2 ไมล์ซึ่งไกลกว่า
ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แลน ที่อาจอยู่ภายในอาคารหรือบริเวณมหาวิทยาลัยเดียวกัน แวนไร้สาย (wireless wide area
network) ข่ายงานบริเวณกว้างไร้สาย
อินเทอร์เน็ต (: Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก
โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ
รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น